11 วิธีแก้ปัญหา “ผิวหน้าแห้งเสีย” ทำตามนี้ ผิวดีขึ้นแน่นอน

17015 จำนวนผู้เข้าชม  | 

11 วิธีแก้ปัญหา “ผิวหน้าแห้งเสีย” ทำตามนี้ ผิวดีขึ้นแน่นอน

11 วิธีแก้ปัญหาผิวแห้งเสีย ทำตามนี้ ผิวดีขึ้นแน่นอน

“ผิวหน้าแห้งเสีย” ปัญหาสุขภาพผิวที่คอยกวนใจใครหลายๆคน บ้างก็ทำให้เสียความมั่นใจ บ้างก็ทำให้เกิดสารพัดปัญหาผิวตามมา ทั้งผิวลอกเป็นขุย เกิดอาการคัน ระคายเคือง ไปจนถึงมีอาการแสบ และแดง แถมสภาพผิวที่แห้งเสีย ยังส่งผลให้เกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควรได้อีกด้วย วันนี้ Sophist มีวิธีจัดการผิวหน้าแห้งเสีย ด้วยวิธีง่ายๆที่สามารถทำได้ตามได้ไม่ยาก และรับรองว่าปัญหาผิวจะดีขึ้นอย่างแน่นอน

ก่อนจะพูดถึงวิธีจัดการปัญหาผิวแห้งเสียด้วยตนเอง เรามาดูกันก่อนดีกว่าค่ะว่า “ผิวแห้งเสีย ลอกเป็นขุย” เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

1.อายุเพิ่มขึ้น

ร่างกายของเรามีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ทั้งระบบฮอร์โมน (Hormone) รวมถึงการผลิตสารจำเป็นต่างๆในร่างกาย ที่จะเริ่มผลิตได้น้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น เช่น คอลลาเจน อิลาสติน หรือไขมันในชั้นผิว ผิวของเราจึงเริ่มขาดความยืดหยุ่น และสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่ายกว่าเก่า นำมาซึ่งปัญหาผิวแห้งเสีย ลอกเป็นขุย

2.สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

ผิวของคนเราจะแห้งเสียได้ง่าย เมื่อความชื้นในอากาศน้อยลง (หน้าร้อน หรือหน้าหนาว)

3.อาบน้ำด้วยน้ำร้อนหรือน้ำเย็นเกินไป

หลายๆท่านชอบใช้น้ำที่ร้อน หรือเย็นมากเกินไปในการอาบชำระล้างร่างกาย เพราะรู้สึกสบายตัวกว่า แต่ยิ่งน้ำที่ใช้อุณหภูมิสูงหรือต่ำจนเกินไป จะทำให้สมดุลของชั้นผิวเราถูกรบกวน จนเกิดปัญหาผิวแห้งกร้านได้

4.ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ไม่อ่อนโยนต่อผิว

ทั้งสบู่ แชมพู โฟมล้างหน้า ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ตลอดไปจนถึงน้ำยาปรับผ้านุ่ม สามารถทำให้ผิวของเราแห้งเสียได้ เพราะโดยส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเหล่านี้จะเน้นการกำจัดไขมัน (Oil) ออกจากพื้นผิว หากผลิตภัณฑ์ที่ใช้มีฤทธิ์ในการชะล้างไขมันสูง ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะทำให้ผิวของเราแห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื้น

5.โรคผิวหนังบางชนิด

เช่น โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis vulgaris) หรือโรคภูมิแพ้ผิวหนัง มักทำให้เกิดอาการผิวแห้งเสียได้

นอกไปจากสาเหตุที่กล่าวถึงข้างต้นแล้วนั้น ผิวแห้งกร้าน ยังเกิดได้จากอีกหลายๆปัจจัย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่ "หน้าแห้ง เกิดจากอะไร" พร้อมวิธีจัดการชนิดอยู่หมัด ทำตามได้ไม่ยาก

 

วิธีแก้ปัญหา จัดการผิวหน้าแห้งเสีย

1.เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวสูตรอ่อนโยน

ทั้งผลิตภัณฑ์ล้างหน้า สบู่ และแชมพู หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารกลุ่มซัลเฟต (SLS) น้ำหอม สารแต่งสี และแอลกอฮอล์ เพราะสารเหล่านี้จะกระตุ้นให้ผิวของเราแห้ง และเกิดอาการระคายเคืองได้มากขึ้น

2.เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางให้เหมาะกับสภาพผิว

การเช็ด หรือล้างเครื่องสำอางบนผิว เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผิวของเราเกิดอาการระคายเคืองได้เช่นกัน เราอาจคุ้นเคยกับการใช้สำลีในการเช็ดล้างเครื่องสำอาง แต่หากคุณเป็นผู้ที่มีผิวแห้งเสีย หรือผิวแพ้ง่าย ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางประเภทน้ำมัน (Cleansing Oil) หรือบาล์ม (Cleansing Balm) เพื่อลดการเสียดสีระหว่างผิวหน้ากับสำลี

สครับผิวหน้า เพื่อช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว

3.สครับผิวหน้า 1-2 ครั้ง/สัปดาห์

โดยปกติผิวของคนเราจะผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และผลิตเซลล์ใหม่อยู่ทุกเดือน แต่เมื่อไหร่ที่เกิดการสะสมของชั้นเซลล์ผิวที่ตายแล้วบนผิวหน้า อาจทำให้เกิดสะเก็ดแห้งๆบนผิว และทำให้ผิวดูหมองคล้ำ เราสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้โดยการสครับผิวหน้า 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ เพื่อช่วยกำจัดเซลล์ผิวส่วนเกินออกไป โดยเลือกใช้สครับที่อ่อนโยนต่อผิว เช่น สครับน้ำตาล สครับเนื้อโคลน สครับข้าวโอ๊ต เป็นต้น   

4.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการอาบน้ำ

เพื่อป้องกันผิวแห้งเสีย ควรอาบน้ำด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงการใช้น้ำที่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป เพราะจะทำให้ชั้นผิวของเราถูกรบกวนและจุดสำคัญที่สุดคือ ควรจำกัดเวลาในการชำระล้างร่างกายเพียง 5-10 นาที เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียน้ำในชั้นผิว

ซับผิวให้แห้งแทนการเช็ด

5.ซับตัวให้แห้งแทนการเช็ด

หลายๆคนอาจคุ้นเคยกับการใช้ผ้าเช็ดตัว เช็ด หรือลากไปบนผิวแรงเกินไป จนทำให้เกิดอาการระคายเคืองโดยที่ไม่รู้ตัว เราแนะนำให้ค่อยๆใช้ผ้าเช็ดตัวกดลงบนผิวเบาๆ ให้ทั่งร่างกาย แทนการเช็ดแล้วลาก และควรเลือกผ้าเช็ดตัวที่มีเนื้อผ้าหนา นุ่ม เพื่อลดการเสียดสีกับผิว

6.บำรุงผิวในขณะที่ผิวยังหมาดๆ

หลายๆคนอาจรอให้ผิวแห้งสนิท จึงค่อยทาครีมบำรุงผิว (ทั้งผิวหน้า และผิวกาย) แต่ความจริงแล้วนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังต่างแนะนำว่า ควรเริ่มบำรุงผิวทันที หลังจากที่ซับผิวพอหมาดๆ เพราะจะช่วยล็อคความชุ่มชื้นได้มากกว่า แถมการดูดซึมของสกินแคร์ต่างๆก็ทำได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับการบำรุงผิวเมื่อผิวแห้งสนิท

7.บำรุงผิวด้วยมอยส์เจอไรเซอร์เนื้อเข้มข้นเป็นประจำ

เพื่อช่วยฟื้นฟูเกราะป้องกันผิว (Skin barrier) ให้แข็งแรงและกักเก็บความชุ่มชื้นให้กับชั้นผิวได้มากยิ่งขึ้น และเพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่า ควรบำรุงผิวทั้งช่วงกลางวัน และก่อนนอน เป็นการเติมความชุ่มชื้นให้กับผิวอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงสกินแคร์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ สารแต่งสีและสารแต่งกลิ่น เพื่อลดอาการระคายเคือง

Sophist Age-Delay Collection มิตรแท้ ผิวแห้งเสีย

8.มาส์กหน้าเติมความชุ่มชื้นให้กับผิว

การมาส์กหน้าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหน้าของเราได้ โดยสามารถเลือกใช้แผ่นมาส์กสำเร็จรูป (Sheet Mask) หรือมาส์กจากธรรมชาติ เช่น มาส์กน้ำผึ้ง มาส์กข้าวโอ๊ตและนมสด มาส์กไข่แดง มาส์กอะโวคาโด้ ฯลฯ

ใช้เครื่องทำความชื้น เพื่อลดปัญหาผิวแห้งเสีย

9.ใช้เครื่องทำความชื้น (Humidifier)

โดยเฉพาะสาวๆที่ต้องทำงานในห้องแอร์ หรือที่ที่มีอากาศร้อนเป็นเวลานาน การใช้เครื่องทำความชื้น เพื่อช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศ และช่วยรักษาความชุ่มชื้นในผิวของเราไว้ได้ (อาจนำน้ำใส่แก้ว หรือถ้วย แล้วนำมาวางไว้ในห้องที่เปิดแอร์ ก็สามารถช่วยเพิ่มความชื้นได้เช่นกัน)

10.ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

เพราะร่างกายของเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 70% การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก โดยควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 1.5 -2 ลิตร

รับประทานอาหารทีดี มีประโยชน์ต่อผิว

11.รับประทานอาหารที่ดี และมีประโยชน์ต่อผิว

โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันดีสูง เช่น อัลมอนด์ เนื้อปลาทะเลน้ำลึก ถั่วเปลือกแข็งต่างๆ อะโวคาโด้ ฯลฯ รวมไปถึงผักและผลไม้สีเขียว อาหารที่มีโพรไบโอติกสูง เช่น กิมจิ ข้าวหมาก โยเกิร์ต ซึ่งมีส่วนช่วยให้ผิวชุ่มชื้นและแข็งแรงมากยิ่งขึ้น หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ลดการทานอาหารที่มีรสเค็มและของทอด เพราะจะทำให้ผิวของเราแห้งเสียได้

รับรองได้ว่าปัญหาผิวแห้งเสียที่เป็นอยู่ จะค่อยๆดีขึ้นตามลำดับอย่างแน่นอน เมื่อได้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตาม 11 วิธีข้างต้นนี้ แต่อย่างไรหากลองดูแลปัญหาผิวแห้งด้วยตัวเองแล้ว แต่อาการยังคงรุนแรงอยู่ เราขอแนะนำให้ปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้