5607 จำนวนผู้เข้าชม |
อากาศร้อนอบอ้าวขึ้นมาเมื่อไหร่ ปัญหาผิวคอยกวนตัว ก็ผุดขึ้นมาไม่หยุดยั้ง ทั้งผดร้อน ผดคัน ผดเหงื่อ หรือผื่นคัน ที่ผุดขึ้นทั่วตามร่างกาย ทั้งบนหน้า คอ ข้อพับ หัวเข่า หรือขาหนีบ ตลอดจนมีอาการแสบคันร่วมด้วยจนไม่อยากจะทำอะไร Sophist รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับ ผดร้อน ผดคัน หรือผดเหงื่อ มาฝากกัน เพื่อให้ทุกคนรับมือกับปัญหาผิวในหน้าร้อนได้อย่างสบายใจ
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ “ผด” ให้ดียิ่งขึ้นเสียก่อน ผด เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนผิวหนังของเราได้ทุกที่ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการอุดตันของต่อมเหงื่อ (Sweat Ducts) ทำให้ร่างกายไม่สามารถขับเหงื่อออกมานอกผิวหนังได้ เหงื่อเหล่านั้นจึงสะสมในชั้นผิวหนัง และมีลักษณะเป็นตุ่มนูน โดยอาการของผดร้อนแบ่งได้เป็น 4 ระดับ
ตุ่มน้ำใส เป็นผดบนผิวชั้นนอกสุด โดยจะเป็นตุ่มน้ำใส ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ไม่เจ็บ ไม่คัน ตุ่มน้ำเหล่านี้จะค่อยๆแตกไป กลายเป็นสะเก็ด
ผดแดง มักพบในบริเวณที่มีการเสียดสีเยอะ เช่น คอ ข้อพับ ข้อศอก ขาหนีบ และรักแร้ มีอากาารแสบ แดงร่วมด้วย
ตุ่มสีเนื้อ (คล้ายหนังไก่) เป็นผดร้อนที่เกิดเพราะท่อเหงื่อในชั้นหนังแท้เกิดการรั่วไหล ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถเกิดได้เมื่ออยู่ท่ามกลางอากาศร้อนๆเพียงไม่นาน
ในปัจจุบันยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดว่าผดร้อนเหล่านี้นั้นเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ แต่สารถระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดผดร้อนได้ ดังนี้
สภาพอากาศร้อนชื้น โดยเฉพาะภูมิประเทศที่อยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรอย่างประเทศไทย ที่อากาศร้อน อบอ้าวตลอดปี สภาพอากาศนี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดผดร้อนได้อยู่ตลอด
ความผิดปกติของต่อมเหงื่อ เกิดใด้ทั้งในทารกอายุ 1 สัปดาห์ขึ้นไป ที่ต่อมเหงื่อยังพัฒนาตัวไม่สมบูรณ์ ตลอดถึงคนในทุกช่วงวัยที่ท่อเหงื่อทำงานผิดปกติ เกิดการอุดตัน
การรบกวนการระบายเหงื่อจากภายนอก เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าหรือห่มผ้าหนาเกินไป การใช้พลาสเตอร์ยา ผ้าพันแผล หรือการใส่เฝือก ทำให้ผิวหนังขับเหงื่อได้ยากขึ้น ทำให้เกิดผดเหงื่อตามมาได้
ผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวเกิน กลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เกิดการอับชื้นของเหงื่อ เพราะปัญหาการขยับตัวได้ยาก
โดยปกติแล้วนั้นผดร้อน/ผดคัน/ผดเหงื่อ ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรง เพียงแต่จะสร้างความรำคาญและอาการไม่สบายตัว สามารถหายได้เองเมื่ออุณหภูมิต่ำลง และไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ (กรณีที่อาการไม่รุนแรงขึ้นและไม่มีอาการอื่นแทรกซ้อน) โดยมีวิธีแก้ และป้องกันไม่ให้เกิดผดร้อนที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ดังนี้
ประคบเย็นหรือล้างผิวด้วยน้ำสะอาด โดยเฉพาะในบริเวณที่เกิดผดร้อนบ่อยๆ การเพิ่มความเย็นให้กับผิวจะช่วยบรรเทาให้อาการผดร้อนดีขึ้นได้
ใช้ยารักษาเบื้องต้นด้วยการปรึกษาเภสัชกร อาจใช้เป็นคาลาไมน์โลชั่นในผู้ที่มีอาการคันทั่วไป หรือใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วยในกลุ่มที่เริ่มมีอาการติดเชื้อหรืออักเสบ
หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพอากาศร้อนชื้น หรืออยู่กลางแดดเป็นเวลานาน เพื่อลดการกระตุ้นให้ร่างกายขับเหงื่อมากเกินไป
เลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่เบาสบาย ไม่รัดรูป ลดการเสียดสี และระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไนลอน ผ้าซาติน ผ้าเรยอน หรือผ้าลินิน
เลี่ยงการใช้สกินแคร์ที่หนักผิว ที่อาจก่อให้เกิดการอุดตันของท่อเหงื่อ เช่น สกินแคร์ประเภทน้ำมัน (oil) ครีม หรือขี้ผึ้ง แต่ให้เลือกใช้เป็นโลชั่นเนื้อบางเบา เซรั่ม หรือเนื้อเจลแทน
ในกรณีที่ผิวอ่อนแอและแพ้ง่ายมากๆ ให้เปลี่ยนจากการใช้สบู่เหลวมาใช้สบู่ก้อนในช่วงที่มีผดร้อน เพราะในสบู่เหลวมีส่วนประกอบของสารลดแรงตึงผิว ที่อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวได้
กรณีผดร้อนที่เกิดกับเด็กทารก ให้ล้างบริเวณที่มีผดร้อนด้วยน้ำสะอาด เพื่อช่วยระบายความร้อนให้กับผิว ซับผิวเบาๆหรือเป่าให้ผิวบริเวณดังกล่าวแห้งอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการใช้แป้งเด็ก เพื่อป้องกันการอุดตันเพิ่ม หากอาการไม่ดีขึ้นให้ปรึกษากุมารแพทย์
อาการผดร้อนนั้นสามารถหายได้เองภายในเวลา 3-7 วัน ทั้งนี้หากอาการที่เป็นอยู่ไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแทรกซ้อนเหล่านี้ร่วมด้วยก็มีความจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผิวหนังโดยตรง
อาการผดไม่ดีขึ้นหลังจากการดูแลรักษาด้วยตัวเอง ภายใน 3-7 วัน
มีอาการปวด แสบ และแดงเพิ่มมากขึ้น
มีหนองหรือน้ำเหลืองไหลออกจากผด
มีอาการไข้และหนาวสั่น
มีผดร้อน/ผดคัน/ผดเหงื่อ ในบริเวณดังกล่าวอยู่บ่อยๆ
อากาศร้อนแบบนี้ ยิ่งกระตุ้นให้เกิดปัญหาผิวต่างๆตามมาได้มากมาย ทั้งผิวแห้งเสีย ขาดน้ำ ลอกเป็นขุย ไปจนถึงอาการผดร้อน และผดเหงื่อ อย่าลืมดูแลผิวให้ชุ่มชื้นจากภายใน ด้วยการดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ รักษาความสะอาดของผิวอยู่เสมอ และไม่ลืมที่จะบำรุงผิวด้วยโลชั่นที่เข้มข้นแต่ซึมไวอย่าง Sophist Age-Delay Red Palm Repairing Treatment Body Lotion (คลิกเพื่อสั่งซื้อ) โลชั่นปาล์มแดงจาก Sophist ที่มีส่วนช่วยลดอาการคัน แดง และอักเสบจากผิวแห้งเสียเป็นประจำ รับรองได้ว่าจะอีกกี่ร้อนผิวของเราก็ไม่มีหวั่นแน่นอนค่ะ